top of page
Search
Writer's pictureบุญหรีด พวงหรีดกระดาษ

ความเศร้าไม่ใช่ความอ่อนแอ

ความเศร้าไม่ใช่ความอ่อนแอ แต่เป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน

.

การพยายามหลีกเลี่ยงอารมณ์เศร้าของมนุษย์นั้นแทบจะเป็นสัญชาตญาณตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ เรามักจะได้ยินคนพูดอยู่บ่อย ๆ ว่า “อย่าเศร้าไปเลยนะ หยุดร้องไห้เถอะ” หรือ “เรื่องแค่นี้เดี๋ยวก็ผ่านไป”

.

แม้จะไม่ได้ตั้งใจ แต่เรามักถูกกำหนดกรอบว่าความเศร้าเป็นเรื่องที่ควรหลีกเลี่ยง อย่างไรก็ตามผลการวิจัยพบว่าความเศร้าเป็นอารมณ์ที่ปรับเปลี่ยนได้และมีประโยชน์อย่างแท้จริง แล้วทำไมเราถึงกลัวที่จะรู้สึกเศร้า?

.

ความเศร้าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตโดยธรรมชาติและมักจะเชื่อมโยงกับประสบการณ์ความเจ็บปวดหรือการสูญเสียหรือแม้แต่ช่วงเวลาที่มีความหมายในชีวิต สามารถเตือนเราให้นึกถึงสิ่งสำคัญ ตลอดชีวิตของเราได้พบเจอเหตุการณ์มากมายที่ทำให้เจ็บปวดไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ การถูกปฏิเสธ ความผิดหวัง การสูญเสีย โรคภัย และสุดท้ายคือความตาย เราส่วนใหญ่เก็บสะสมความเจ็บปวดไว้เรื่อย ๆ และนำมันติดตัวไปตลอดชีวิต

.

“ความเศร้าโศกเป็นหนึ่งในการสั่นสะเทือนที่พิสูจน์ความเป็นจริงของการมีชีวิต” กล่าวโดย Antoinr de Saint-Exupery นักเขียนชาวฝรั่งเศสผู้เขียนหนังสือชื่อดังเรื่อง “เจ้าชายน้อย” ความเศร้าจึงเป็นอารมณ์ตามธรรมชาติของเราที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ใช่ความอ่อนแอ นักจิตวิทยาดร. ลิซ่า ไฟร์สโตนบอกว่าการไม่ยอมรับว่าตัวเองเศร้าต่างหากคือความอ่อนแอ การแสดงออกว่าเราเศร้าหรือการร้องไห้คือความกล้าอย่างแท้จริง กล้าที่จะยอมรับถึงสิ่งที่เกิด นี่เป็นสิ่งสำคัญที่สุด

.

ความเศร้าจึงเป็นสิ่งที่คอยย้ำเตือนเราถึงการมีชีวิตอยู่และนึกถึงสิ่งที่สำคัญ ทำให้เราดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมายมากขึ้นและรับรู้ถึงความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเราเอง



16 views0 comments

Recent Posts

See All

โลกร้อนและขยะ

ภาวะโลกร้อนและขยะนั้นมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับภาวะโลกร้อนกันก่อน . ภาวะโลกร้อนนั้นคืออะไร?...

สีของพวงหรีดก็สามารถสื่อความหมายให้กับผู้รับ

พวงหรีดนั้นมีมากมายหลายประเภท แต่รู้หรือไม่สีของพวงหรีดก็สามารถสื่อความหมายให้กับผู้รับได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นการเลือกสีให้เหมาะกับผู้ล่วง...

ความเปลี่ยนแปลงของพวงหรีดในประเทศไทยจนปัจจุบัน

เริ่มแรกนั้นพวงหรีดมีต้นกำเนิดจากชาวตะวันตกซึ่งใช้ในงานมงคลและงานอวมงคลซึ่งช่วงเวลาที่เข้ามาในประเทศนั้นคาดกันว่าอยู่ในช่วงรัชกาลที่ 4...

コメント


โพสต์: Blog2_Post
bottom of page